ReadyPlanet.com
dot
ช่องว่างตามกำแพง ยาแนวหลุดร่อน แก้ไขได้ง่ายนิดเดียว

คุณกำลังพบกับปัญหาช่องโหว่ตามกำแพงใช่ไหม เรามาทำความรู้จักสิ่งที่ช่วยแก้ปัญหาในจุดนี้กันเถอะ

 

  สเปรย์โฟม หรือ โฟมอุดช่องโหว่ คืออะไร มีประโยชน์อะไรและสามารถนำไปใช้กับส่วนใดของบ้านได้บ้าง เรามีคำตอบให้ทุกคนได้รู้จักกับ โฟมอุดช่องโหว่ มากขึ้น

 

 

 

 

 PU Foam ในหน้าต่างแอพพลิเคชั่น

       

ภาพจาก soudal.com.sg

 

สเปรย์โฟมคืออะไร ? 

 

        สเปรย์โฟมหรือสเปรย์โพลียูรีเทน (SPF) คือ โฟมที่ใช้ในการซ่อมแซมบ้าน ทำมาจากเมทิลีนไดฟีนิลไดไอโซไซยาเนต (MDI) โพลีเมริกเมทิลีนไดฟีนิลไดไอโซไซยาเนต (pMDI) ผสมกับโพลีออล (Polyol) ที่ได้จากพลาสติกรีไซเคิลและสารประกอบของเหลวอื่น ๆ อีกเล็กน้อย เมื่อฉีดออกมาครั้งแรกจะเป็นเนื้อโฟมคล้ายมูสและค่อย ๆ แข็งตัวเมื่อสัมผัสกับอากาศประมาณ 4-7 ชั่วโมง

 

มีประโยชน์อย่างไร ? 

 

        สเปรย์โฟมถูกผลิตออกมาเพื่อลดการสูญเสียพลังงานในบ้านตามรอยรั่วต่าง ๆ เช่น บนผนัง หลังคา หรือหน้าต่าง ที่ถูกผลิตขึ้นมาครั้งแรกในปี พ.ศ. 2483 เพื่อนำไปอุดรอยรั่วเครื่องบินรบของกองทัพสหรัฐอเมริกา ต่อมาในปี พ.ศ. 2513 สเปรย์โฟมได้ถูกนำมาใช้ในการซ่อมแซมบ้าน เช่น อุดช่องโหว่ตามผนังท่อแอร์ ใช้เป็นฉนวนกันความร้อน-เย็น จนกระทั่งได้รับความนิยมมาเรื่อย ๆ จนถึงปัจจุบัน 

 

        ส่วนขนาดของสเปรย์โฟมนั้นไม่ได้มีเฉพาะแบบที่เป็นกระป๋องสเปรย์ แต่ยังมีแบบหัวฉีดเพื่อนำไปใช้ในการซ่อมแซมงานใหญ่ ๆ เช่น ใช้ใต้พื้นคอนกรีตหรือถนนเพื่อยกระดับส่วนที่ทรุดขึ้นมาให้เท่ากัน เป็นต้น

 

สิ่งที่ควรระวังขณะใช้งาน ? 

 

         1. ใช้ในบริเวณที่อากาศถ่ายเทสะดวก

 

         2.  สวมถุงมือขณะทำงาน

 

         3. ถ้าเนื้อโฟมสัมผัสกับผิวหนังให้ล้างด้วยน้ำสบู่ทันที

 

         4. ห้ามทุบหรือทำลายกระป๋องถึงจะใช้หมดแล้ว อย่าโยนกระป๋องเข้ากองไฟ

 

เก็บรักษาอย่างไร ?

 

     ควรเก็บไว้ในที่เย็นและแห้ง โดยกระป๋องที่ยังไม่เปิดจะเก็บไว้ได้ไม่เกิน 12 เดือนนับจากวันที่ผลิต และถ้าใช้ไม่หมดให้ล้างหัวฉีดด้วยอะซีโตนหรือทินเนอร์

 

PU FOAM หน้าตาเป็นแบบไหนนะ

 

ผลิตภัณฑ์สเปรย์โฟม

 

 

 

 

 

 

มาทำความรู้จัก สเปรย์โฟม โฟมสร้างบ้านกันเถอะ

 

 

 

ภาพจาก Thaiwatsadu 

 

1. Sika Boom AP

 

        โฟมเป็นแบบมัลติโพสิชั่น (Multiposition) สามารถใช้ได้กับทุกตำแหน่ง แข็งตัวเร็ว อัตราการขยายตัวสูง หัวฉีดวาล์วใช้งานง่าย สามารถเป็นฉนวนป้องกันอุณหภูมิที่ดีเยี่ยม ดูดซับเสียงได้อย่างมีประสิทธิภาพ ใช้งานได้ยาวนาน และปราศจากสาร CFC/HCFC

 

 

 

 

 

ภาพจาก  neighbor

 

2. Sista M525

 

        เป็นโฟมโพลียูรีเทนสามารถขยายตัวได้มาก โดยหลังจากแห้งจะกลายเป็นวัสดุกึ่งแข็ง ใช้อุดรูโพรง ช่องว่าง รอยต่อหรือรอยแตกร้าว สำหรับงานก่อสร้าง งานตกแต่ง และงานซ่อมแซมทั่วไป

 

 

 à¸¡à¸²à¸—ำความรู้จัก สเปรย์โฟม โฟมสร้างบ้านกันเถอะ

 

                                                                                                                                                                                                    ภาพจาก abpon 

 

3. Kori Foam

 

        สเปรย์โฟมสำหรับอุดรอยรั่วช่วยเก็บเสียง เป็นฉนวนกันร้อน-เย็นตามช่องว่างในวงกบ ประตู หน้าต่างและรูต่าง ๆ ใช้ได้กับงานอะลูมิเนียม เหล็ก ปูน ทั้งภายในและภายนอกอาคาร 

 

 à¸¡à¸²à¸—ำความรู้จัก สเปรย์โฟม โฟมสร้างบ้านกันเถอะ

 

ภาพจาก linladasupply.simdif 

 

4. Tytan 65  

 

        กาวโฟมสำหรับอุดร่องช่องว่างตามวงกบประตู หน้าต่าง และผนังท่อแอร์ ช่วยในการเก็บเสียง ใช้ได้ทั้งงานไม้ อะลูมิเนียม เหล็ก หรือปูนทั้งภายในและภายนอกอาคาร ผลิตจากสารไม่ติดไฟทำให้ไม่ลุกลามไปที่อื่น

 

 à¸¡à¸²à¸—ำความรู้จัก สเปรย์โฟม โฟมสร้างบ้านกันเถอะ

 

 

ภาพจาก linladasupply.simdif 

 

5. World Foam

 

        สเปรย์โฟมอเนกประสงค์ สำหรับอุดรอยรั่วตามวงกบประตูหรือหน้าต่าง รวมไปถึงผนังแอร์ พร้อมทั้งช่วยเก็บเสียง ใช้ได้ทั้งงานไม้ อะลูมิเนียม เหล็ก และปูน

 

 

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก Whysprayfoam, Thaiwatsadu, Sika Thai, Gorvia , kapook และ Janesupply 

 

 

 

 




ข่าวสารประชาสัมพันธ์ของเว็บไซต์

หน้าฝนแล้ว มาเช็ครางน้ำของคุณกันเถอะว่าใช้แบบไหน article
เมทัลชีท คือ สังกะสีใช่ไหม ?? article
คำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลและซ่อมแซมรางน้ำ
สีสเปรย์มีกี่ประเภท
ไอเทมฮิต ที่นักกราฟิกตี้ต้องมี
บ้านจืดเกินไป อยากมีสีสันต์10 สีทาภายใน ที่ทำให้บ้านคุณสดใส
บ้านร้อน ฉนวนกันความร้อนช่วยคุณได้
8 วิธี กันนกไม่ให้มาทำรังใต้หลังคาบ้าน
6 ไอเดียทำบ้านด้วยไม้ระแนง วัสดุสร้างบ้านแสนคลาสสิค ทำตามได้ง่าย
พายุฝนมาแล้วววกับ10 วิธีรับมือ..รักบ้าน อย่าลืมเช็คบ้าน
การเลือกวัสดุและแผ่นหลังคาที่ควรนำมาทำกันสาด
ผ้าเหม็นอับในหน้าฝน เพราะหลังคามืดทึบ แก้ไขได้
ประวัติของสกรู
5 วิธีดูแลรักษาหลังคาบ้านเบื้องต้นอย่างงายดาย
ทางเลือกเพื่อบ้านทันสมัย สวยทน หลังคาเมทัลชีท
หลังคาบ้านแบบไหนเหมาะกับตัวคุณ
วิธีระบายอากาศออกจากบ้านหรือตัวอาคาร
เมทัลชีทคืออะไร
เหล็กคืออะไร
สร้างบ้านสวย สไตล์เมทัลชีท รับหน้าฝน No! สนน้ำท่วม article



Copyright © 2019 NEIGHBOR Co.,Ltd., All Rights Reserved.
สงวนลิขสิทธิ์ © 2562 โดย บริษัท เนเบอร์ จำกัด เว็บไซต์ NEIGHBOR.CO.TH
เมทัลชีท