5 วิธีดูแลรักษาหลังคาบ้านเบื้องต้นอย่างงายดาย
ทนเเดดทนฝนกันมาหลายปี เเต่ทุกอย่างก็ต้องมีวันเสื่อม ต้องเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา ไหนลองดู หลังคา บ้านของเราสิว่ายังใช้ได้อยู่มั้ย มีรอยร้าว หรือน้ำซึมหรือเปล่า ถ้าอาการเริ่มจะไม่ไม่ดี วันนี้เรามีข้อเเนะนำและวิธีการดูเเลหลังคาบ้านเบื้องต้นมาฝากกันจ้า
1. ตรวจเช็คว่าการปูกระเบื้องบนหลังคาเป็นระเบียบเรียบร้อยไหม การวางระยะห่างระหว่างกระเบื้องต้องเท่ากัน การปูกระเบื้องหลังคาที่ถูกต้องจะเรียงตัวกันอย่างเป็นระเบียบ หากมีกระเบื้องที่เหลื่อมทับซ้อนกันหรือชำรุด ควรรีบแก้ไขโดยทันที เพราะอาจจะทำให้หลังคารั่ว หรือหล่นลงมาได้
2. หลังคาที่ดีต้องไม่มีกระเบื้องที่มีรอยแตกร้าว รอยร้าวเล็กๆอาจทำให้น้ำรั่วซึมเข้ามาได้ และถ้าไม่แก้ไขรอยร้าวอาจจะเพิ่มมากขึ้นจนแตกและหล่นลงมา
3. ส่วนของตัวครอบหลังคาที่ถูกยึดด้วยปูน ควรอยู่ในสภาพแข็งแรงไม่แตกร้าว
4. หากมีต้นไม้ใหญ่อยู่ใกล้กับหลังคาบ้าน ควรตัดแต่งกิ่งออกสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันกิ่งไม้หล่นใส่หลังคาบ้าน
5. คราบต่างๆ บนหลังคาอาจก่อให้เกิดเชื้อราได้ ซึ่งจะทำให้หลังคาดูเก่าหมอง เชื้อราเหล่านี้แพร่ได้เร็วมากโดยส่วนมากมักเกิดขึ้นกับหลังคาส่วนที่อยู่ในร่ม หรืออยู่ใกล้ตึกสูง ในบริเวณที่แสงแดดส่องไม่ถึง
หลังคาบ้านก็สามารถช่วยให้บ้านประหยัดพลังงานได้
1. หลังคาที่มีมวลสารน้อยจะมีค่าการดูดซึมและสะสมควมร้อนต่ำ ทำให้ถ่ายเทความร้อนเข้าสู่ตัวอาคารน้อยลง เช่น หลังคาประเภทที่น้ำหนักเบา อย่างหลังคา เมทัลชีท Metal sheet, Shingles roof, สังกะสี เป็นต้น
2. หลังคาที่มีค่าต้านทานความร้อน สามารถป้องกันการถ่ายเทความร้อนจากภายนอกสู่ภายในอาคารได้ดี เช่น หลังคาประเภทไม้, หลังคาที่เป็นวัสดุพื้นผิวมัน และหลังคาโทนสีอ่อน
3. อาคารที่มีลักษณะเป็นจั่วสูง หรืออาคารที่มีช่องว่างอากาศใต้หลังคา เปรียบเสมือนกับเป็นฉนวนความร้อนอยู่แล้ว หากเพิ่มช่องทางในการระบายอากาศใต้หลังคา จะช่วยสร้างแรงกดกับอากาศ ด้านรับลมส่งผลทำให้อากาศในบ้านหมุนเวียนดีขึ้น
4. เพิ่มประสิทธิภาพด้วยฉนวนกันความร้อน หรือแผ่นสะท้อนความร้อน สามารถป้องกันการนำความร้อนผ่านหลังคาเข้าอาคารได้โดยตรง ซึ่งปัจจุบันสามารถหาซื้อได้ง่ายตามท้องตลาดทั่วไป หลากหลายชนิด หลายประเภท ให้เลือกตามความเหมาะสม ถ้าให้ดี ติดตั้งให้ได้ประสิทธิภาพนั้น ควรปรึกษากับทางสถาปนิกผู้ออกแบบ หรือผู้ผลิตสินค้าฉนวนโดยตรงจะดีกว่าจ้า
เป็นอย่างไรบ้างกับความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับหลังคาทั้ง 3 ตอน เพียงเท่านี้เราก็สามารถวางแผนการใช้หลังคาให้เหมาะสมกับบ้าน แต่ก็อย่าลืมส่วนอื่นของบ้านนะครับ มีความสำคัญไม่แพ้กันน้า
ที่มา : home.co.th