กำลังสนใจเรื่องหลังคาบ้านกันใช่ไหม วันนี้เรามาทำความรู้จักแบบหลังคากันแต่ละแบบ แล้วนำไปใช้กับหลังคาบ้านของคุณกันดีกว่าครับ
หลังคาเมทัลชีท
หลังคาเหล็กเมทัลชีท สามารถมุงหลังคาได้หลายแบบตามลักษณะการออกแบบของคุณ มักพบได้โดยทั่วไป เพราะนิยมใช้กันภายในประเทศและต่างประเทศ และยังสามารถใช้สร้างสิ่งของรูปแบบอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานกับการทำบ้านอีกด้วย
หลังคาจั่วแบบหลายชั้น
หลังคาแบบปั้นหยา ลักษณะคล้ายกับหลังคาจั่ว แต่ทรงปั้นหยาจะเป็นหลังคาปิดทั้ง 4 ด้าน ทำให้กันลมกันฝนได้ดี แต่ก็ระบายความร้อนได้น้อยกว่าแบบจั่ว หลังคาแบบนี้มักจะพบกันในภาคใต้เพราะมักจะมีลมและฝนพัดมาจากทุกทิศทาง ปัจจุบันนิยมใช้กันมากในงานแบบบ้านพักตากอากาศ
หลังคาปั้นหยาทั่วๆ ไป
หลังคาปั้นหยาแบบ 2 ชั้น ช่องว่างระหว่างหลังคาชั้นล่างกับชั้นบนสามารถทำเป็นช่องระบายอากาศเพื่อลดความร้อนของบ้านได้
หลังคาแบบจั่วผสมปั้นหยา แบบหลังคาประเภทนี้เห็นได้ชัดในเรือนไทยภาคกลาง ซึ่งมักจะทำแบบหลังคาบ้านทรงปั้นหยาไว้ชุดล่างเพื่อกันแดดฝนได้อย่างดี และทำหลังคาทรงจั่วไว้ด้านบนเพื่อระบายอากาศและความร้อนอีกชั้น หลังคาแบบนี้กำลังเป็นที่นิยมในงานรีสอร์ท แต่การก่อสร้างจะค่อนข้างซับซ้อนกว่า 2 แบบแรกมาก
หลังคา คอนกรีต สแลบ หรือหลังคาคอนกรีตเรียบๆ เป็นหลังคาที่นิยมใช้กับแบบบ้านโมเดิร์น ที่ต้องการให้อาคารออกมาดูเรียบง่าย และไม่ต้องการการดูแลรักษามาก แบบบ้านพักอาศัยสมัยใหม่มักจะเอามาผสมกับหลังคาแบบอื่นๆ เพื่อให้บ้านดูทันสมัยขึ้น แต่การก่อสร้างถึงจะง่ายแต่ต้องอาศัยความรู้เรื่องวัสดุพอสมควร เพราะหลังคาแบบนี้รับแดดเต็มๆ (ลองกลับไปอ่าน ทำอย่างไรให้หลังคากันความร้อนได้มากขึ้น หัวข้อ 3 )
หลังคาเพิงหมาแหงน ก็คือหลังคาจั่วแบบมีด้านเดียว ส่วนอีกด้านอาจจะเป็นผนังปูนหรือโครงสร้างแบบอื่นแล้วแต่การออกแบบ โครงสร้างหลังคาแบบนี้มักจะทำในอาคารที่ไม่อยากจะโชว์ให้เห็นหลังคา เช่นอยากให้อาคารออกมาดูโมเดิร์น แต่ยังอยากใช้แผ่นมุงหลังคาเพราะประหยัดกว่าหลังคาคอนกรีต (ถ้ามองจากด้านหน้าอาคารเราจะมองไม่เห็นหลังคาที่อยู่ด้านหลัง) และมักจะใช้กับอาคารขนาดเล็กที่ไม่มีพื้นที่ด้านข้าง(ด้านข้างติดบ้านคนอื่น)
หลังคาปีกผีเสื้อ เป็นหลังคาจั่วแบบกลับด้าน คือเอียงด้านต่ำของหลังคาเข้าหากันตรงกลางแล้วจึงทำรางน้ำรับอีกที แบบนี้ก็คงจะได้แบบที่ดูแปลกตาดีครับ แต่ไม่เหมาะจริงๆ กับภูมิศาสตร์บ้านเราเพราะบ้านเราฝนหนักและลมแรง โอกาสที่น้ำจะทะลักเข้าไปภายในบ้านเป็นไปได้สูงมาก นอกเสียจากเราจะทำเพื่อโชว์แต่มีหลังคา คอนกรีตรับไว้ด้านใต้อีกทีก็ได้ครับ
หลังคาแบบฟรีฟอร์ม มักจะเป็นหลังคาคอนกรีตอาจจะเป็นรูปโดม หรือ โค้งไปมา หรือแบบหลังคาตามจินตนาการของผู้ออกแบบ เงื่อนไขสำคัญของการทำก็คือการป้องกันน้ำเข้าบ้านครับ เพราะนอกจากราคาจะสูงแล้ว หลังคาแบบนี้มักจะทำกันในอาคารที่ต้องการทำเป็น ไอคอน เช่นอาคารพิพิธภัณฑ์ หรืออนุสรณ์สถาน เป็นต้น
หลังคาสีเขียว ( Green roof ) หลังคาตัวเลือกอีกแบบสำหรับคนที่อนุรักษ์นิยม คนที่ต้องการพื้นที่สีเขียวโดยไม่ต้องรอวันหยุดยาว และคนที่ต้องการเติมสุขภาพกายและจิตให้ดีขึ้น หลังคาสีเขียวมีการทำกันมานานแล้วแต่มักจะทำกันในอาคารขนาดใหญ่ เช่นโรงแรม เมื่อกระแสสีเขียวเริ่มเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตคนเมืองมากขึ้น กระแสหลังคาสีเขียวก็เริ่มเข้ามาในชีวิตเราง่ายขึ้นด้วย หลักการของการทำคือการเตรียมพื้นที่เพื่อให้สามารถปลูกต้นไม้ได้โดยไม่ทำให้หลังคารั่วหรือรากไม้แทงเข้ามาในตัวอาคารได้นั่นเอง ส่วนใหญ่จะทำบนหลังคาคอนกรีตสแลบเป็นส่วนใหญ่ ต้องมีการเพิ่มคุณสมบัติกันชื้นกันน้ำให้กับพื้นคอนกรีตมากกว่าปกติ พร้อมเตรียมระบบระบายน้ำและเลือกชนิดของต้นไม้ให้เหมาะสมด้วย
หลังคา green roof ช่วยทำให้บ้านดูอบอุ่นขึ้น
การทำโครงสร้างหลังคา Green roof
หลังคาแบบเต้น อาจจะไม่ค่อยคุ้นเคยกับการนำมาทำบ้านมากนักในบ้านเรา แต่กับอาคารขนาดใหญ่เราจะเห็นบ่อยเช่น สนามบินสุวรรณภูมิ โครงสร้างเต้นเป็นระบบหลังคาที่มีความยืดหยุ่นสูงและสามารถเพิ่มพื้นที่ใช้สอยภายในให้เยอะมากขึ้นเพราะเสาภายในมีน้อยมากเมื่อเที่ยบกับรูปแบบอื่น รวมถึงสามารถนำแสงจากภายนอกเข้ามาได้มากเช่นกันเพราะตัวหลังคาสามารถให้แสงผ่านได้ แต่ราคาก็แพงพอสมควร
เครติดข้อมูล และรูปภาพ : www.forfur.com